วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Lesson15



บันทึกอนุทิน

Date 28 November 2014
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran




Knowledge  




เทคนิคการใช้คำถามต่างๆสำหรับเด็กปฐมวัย

       1 คำถามให้สังเกต

       2 คำถามทบทวนความจำ

       3 คำถามบอกความหมายหรือบอกข้อจำกัด

       4 คำถามอธิบาย

       5 คำถามให้สร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่

       6 คำถามประยุกต์

       7 คำถามให้วิเคราะห์

       8 คำถามให้ตัวอย่าง

       9 คำถามให้สรุป

      10 คำถามให้เปรียบเทียบ



ออกแบบใบสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน


1 หน่วยกะหล่ำปลี






2 หน่วยไก่






3 หน่วยกบ






4 หน่วยดอกมะลิ






5 หน่วยผีเสื้อ






6 หน่วยส้ม






7 หน่วยกล้วย






8 หน่วยแปรงสีฟัน







 What will further developed

            นำตัวอย่างเทคนิคและความรู้เกี่ยวกับการทำใบสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองของหน่วยต่างๆไปปรับใช้ต่อไปในอนาคต เพราะการสอนในบางหน่วยเราต้องใช้สื่อจริง และไม่มีงบประมาณที่มากพอ เลยต้องขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง คำที่ใช้ต้องน่าสนใจใช้คำง่ายๆ ที่ไม่เป็นทางการ เพื่อที่จะให้ผู้ปกครองมีความสนใจที่จะอ่านและเกิดความเข้าใจให้ความสนใจให้ความร่วมมือกับเรา


Evaluation

Me

            พยยามทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้และเทคนิคต่างๆของแต่ละหน่วย เพื่อที่จะสามารถนำไปปรับใช้ต่อไปให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

Friends

            เพื่อนในกลุ่มให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยกันคิดและเสนอ เพื่อให้งานออกมาน่าสนใจ

Teachers

            อาจารย์มีการวางแผนในการสอนดี เรียนแล้วเกิดความเข้าใจให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ ในการทำกิจกรรมทุกครั้ง อาจารย์จะบอกเทคนิคต่าง เช่น ในการทำใบสานสัมพันธ์ ข้อความหรือหัวข้อที่เขียนต้องไม่เป็นทางการ ใช้คำที่ชักชวนน่าอ่านและน่าสนใจ และอาจารย์ได้สอนเทคนิคการใช้คำถามต่างๆสำหรับเด็กปฐมวัย












"จรวดจากหลอดกาแฟ"


อุปกรณ์

        1 กระดาษ A4 ตัดให้ได้ขนาด 15 x 6 cm. 1แผ่น

        2 Post-it (ขนาด 1” x 3” หรืออื่นๆมาประยุกต์ใช้) 3 แผ่น

        3 ไม้จิ้มฟัน 1อัน

        4 ดินน้ำมันปั้นน้อยๆ 1ก้อน 

        5 หลอดกาแฟ 2อัน

        6 กาว

       7 ดินสอไม้ หรือวัสดุแท่งกลมๆ ขนาดใกล้เคียงดินสอ

       8 ปากกาสำหรับเขียนตกแต่ง





วิธีการทำลำตัวจราด

        1 นำกระดาษ A4 มาพันม้วนรอบดินสอเป็นแนวเฉียงจนสุดกระดาษ จากนั้นทากาวปิดปลาย

        2 ดึงดินสอออก จะได้แท่งกระดาษทรงกระบอก (รูปที่3)

        3 ตัดปลายหัว-ท้ายออก ให้เหลือความยาวประมาณ 9 cm. จะได้ตัวจรวด (รูปที่6)





         4 ตัดหลอดกาแฟให้ได้ความยาวประมาณ 2.5 cm.

         5 ใช้ดินน้ำมันเป็นตัวยึดกาแฟเข้ากับจรวจที่เป็นแท่งกระดาษ (รูปที่8) ใช้นิ้วแต่งดินน้ำมัน

         6 หักยอดแหลมของไม้จิ้มฟันมาติดส่วนปลายสุดของจรวด โดยใช้ดินน้ำมันยึด (รูปที่ 10-11) ถ้าให้เด็กทำไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันที่แหลมๆ เพราะจะเกิดอันตรายต่อเด็ก

         7 ใช้นิ้มปั้นแต่งดินน้ำมันจะได้ออกมาเป็นรูปที่ 12 ค่ะ






ตกแต่งส่วนปีกของจรวด

        8 นำกระดาษ Post-it (ทั้ง 3 แผ่นติดกัน) มาตัดข้างที่เป็นกาวออกประมาณ 0.5 cm. (รูปที่13)

        9 จากนั้นตัดเป็นแนวเฉียงตามรูปที่ 14 (ในรูปข้างที่เป็นกาว อยู่ทางซ้าย)

       10 พับตามภาพที่ 15 แล้วดึงออกมาติดที่รอบฐานล่างของจรวด 



เสร็จเรียบร้อย "จรวดจากหลอดกาแฟ"




มาเป่ากันเถอะ



Lesson14



บันทึกอนุทิน

Date 21 November 2014
Science Experiences Management For Early Childhood
Teacher Jintana Suksamran



Knowledge  

กิจกรรมที่1 ส่งของเล่นวิทยาศาสตร์
















กิจกรรมที่2 การนำเสนองานวิจัย-โทรทัศน์ครู

             1 นำเสนองานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์เน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่2 

ความสำคัญของการวิจัย

             ในการวิจัยโดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของชั้นอนุบาลปีที่2 เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้โอกาสเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการเรียนรู้ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้

ทักษะที่เด็กได้รับ

         1 การสังเกต   
    
         2 การจำแนก

         3 การวัด

         4 การลงความเห็น




            2 นำเสนองานวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล2

ความมุ่งหมายของการวิจัย

             1 พัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาลปีที่2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

            2 เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน

ทักษะที่เด็กได้รับ

           1 การจำแนก

           2 การวัด

           3 การลงความเห็น




           3 การนำเสนอวิจัยเรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน :เพิ่มเติม

ความมุ่งหมายของการวิจัย

          1 ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

          2 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังเรียนได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ความสำคัญ

           เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและจัดกิจกรรม

ตัวอย่างหน่วย

  1 แว่นขยายห็นชัดเจน

            1.1 ให้เด็กสำรวจสิ่งแวดล้อม

            1.2 ให้แว่นขยายเพื่อให้เด็กไปสำรวจ

            1.3 ให้เด็กศึกษารายละเอียดของสิ่งที่นำมา

            1.4 ครูใช้คำถาม

            1.5 ให้เด็กวาดภาพสิ่งที่เด็กๆไปสำรวจ

            1.6 นำออกมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง




             4 นำเสนองานวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร :เพิ่มเติม

ความมุ่งหมายของการวิจัย

             1เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม

             2 เพื่อความเปรียบเทียบระดับของระดับทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรม

ความสำคัญ

             การจัดกิจกรรมทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการสังเกต ทดลอง สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมทำน้ำสมุนไพร เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร เรียนรู้การเปรียบเทียบการชั่ง ตวง วัด และได้เรียนรู้กระบวนการทำงานทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ การเข้าใจเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย การจัดกิจกรรมทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพรทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐาานทางวิทยาศาสตร์ รู้จักคุณประโยชน์ของอาหารและโภชนาการ เรียนรู้การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ทักษะที่เด็กได้รับ

            1การสังกต

            2การวัด

            3การจำแนก

            4การสรุปข้อมูล

วิธีการสอน

ขั้นนำ 

นำเข้าสู่กิจกรรมด้วยเพลง คำคล้องจองปริศนาคำทายและสื่อต่างๆ

ขั้นสอน 

        1. ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์

        2. ครูแนะนำกิจกรรมการทำน้ำฝรั่ง พร้อมวิธีการทำอย่างละเอียด

        3. ครูและด็กร่วมกนทำน้ำฝรั่ง

        4. ครูและเด็กร่วมกันรับประทานน้ำฝรั่ง

ขั้นสรุป

        1. ครูใช้คำถามกับเด็ก

        2. ครูและเด็กร่วมกันสรุปวิธีการทำน้ำฝรั่ง





นำเสนอโทรทัศน์ครู

         1  ชื่อเรื่อง กิจกรรมส่องนกในโรงเรียน

เด็กจะได้สัมผัสกับธรรมชาติ สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว การให้อาหารนกรู้ลักษณะต่างๆของนก

วิธีการสอน

ขั้นนำ

เด็กๆเรียนรู้ชื่อนกและลักษณะของนกจากครู

ขั้นสอน

        1ครูให้เด็กไปสำรวจนก

        2เด็กส่งนกพร้อมกับจดบันทึก  

ขั้นสรุป

ครูและเด็กร่วมกันสรุปนกที่ได้พบเจอมา

ทักษะที่เด็กได้รับ

         1 การสังเกต

         2 การจำแนก

         3การสื่อความหมาข้อมูล

         4การลงความเห็น




          2 ชื่อเรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์

                การสอนให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือ ต้องสอนให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน ครูต้องมีวิธีการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เด็กเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ เรียนสนุก เกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความสงสัย ประเมินเด็กจากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กว่ามีการสังเกตสิ่งต่างๆมากขึนหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆรอบตัวหรือเปล่า




           3 ชื่อเรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย

                    หลักการสอน  สอนให้สนุก สอนเรื่องที่ไม่ไกลตัวเด็ก เน้นการทดลอง เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำจะทำให้เด็กไม่ลืม

                    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเสียง ให้เด็กได้เรีนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้เด็กได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรี หรือโชว์สื่อที่มีเสียงให้เด็กตื่นตาตื่นใจคือ ไก่กระตาก กระป๋องร้องได้ หลังจากลองให้เด็กเล่นครูใช้คำถามถามเด็กว่าเกิดเสียงขึ้นได้อย่างไร                                                             





กิจกรรมที่3 Cooking  : สูตรการทำขนมวาฟเฟิล



อาจารย์แนะนำอุปกรณ์และวิธีการทำ



อาจารย์สาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง



เตรียมไส้วาฟเฟิล



ลงมือปฏิบัติ



เมื่อวาฟเฟิลสุกแล้ว




วาฟเฟิลของหนู




What will further developed

         การสอนให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือ ต้องสอนให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต มีความรอบคอบ ละเอียดถี่ถ้วน ครูต้องมีวิธีการสอนวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เด็กเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ เรียนสนุก เกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความสงสัย สอนเรื่องที่ไม่ไกลตัวเด็ก เน้นการทดลอง เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำจะทำให้เด็กไม่ลืม

Evaluation

Me

         ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม พยายามจดเนื้อหาที่สำคัญจากเพื่อนนำเสนองานวิจัยและนำเสนอบทความ สนุกกับการขนมวาฟเฟิล

Friends

         เพื่อนๆบางคนไม่ฟังคำสั่งอาจารย์ในขณะที่ทำกิจกรรม ทำให้เสียเวลาและเกิดความวุ่นวาย แต่เพื่อนบางคนก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ทุกคนสนุกสนานและตื่นเต้นกับการทำกิจกรรมในครั้งนี้มาก

Teachers

        ชอบเทคนิคการสอนของอาจารย์ เพราะมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายไม่จำเจ มีการให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น ขณะทำกิจกรรมหรือสอนทุกครั้งอาจารย์จะบอกเทคนิคต่างๆ เช่น การสอนเด็กทำCooking ครูต้องบอกข้อตกลงในทำกิจกรรมก่อน จากนั้นอธิบายอุปกรณ์ วิธีการทำและข้อควรระวังในการทำกิจกรรม จากนั้นครูสาธิตวิธีการทำให้เด็กๆดู แล้วครูกับเด็กๆทำกิจกรรมพร้อมกัน สุดท้ายให้เด็กออกมาสรุปและพูดความรู้สึกเกี่ยวกับการทำกิจกรรม