บันทึกอนุทิน
Date 19 September 2014
Science Experiences Management For Early Childhood
Knowledge
กิจกรรมที่1 อาจารย์ได้เตรียมสื่อ แล้วจากนั้นให้นักศึกษาสังเกตและลงมือประดิษฐ์ ให้วาดรูปอะไรก็ได้สองรูปให้มันสัมพันธ์กัน โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
Equipment
1) กระดาษ A4 แบ่งให้เป็น 4ส่วน
1) กระดาษ A4 แบ่งให้เป็น 4ส่วน
2) สีเมจิก
3) กาว
4) กรรไกร
5) ไม้เสียบลูกชิ้น
Procedures
1) นำกระดาษ A4 มาแบ่งตัดเป็น4ส่วน
2) พับกระดาษครึ่งหนึ่ง จากกระดาษที่ตัดมาข้างต้น
3) วาดภาพทั้งสองด้านให้สัมพันธ์กันตามจินตนาการ
4) ใช้เทปใส ติดไม้ลูกชิ้นกับกระดาษ
5) สุดท้ายใช้แม็คเย็บกระดาษทั้งสองด้านติดกัน
กิจกรรมที่2 การนำเสนอบทความ
1) บทความ เรื่องสอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ : เพิ่มเติม
สาระที่ควรเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เด็กได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขั้นต่อไป
Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5ประการ ที่เรียกว่า "5 Craig Basic Concepts" ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5ประการ
1) ความเปลี่ยนแปลง (Chage) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กได้เรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
2) ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างมีความคล้ายคลึงกัน แต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กได้เรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างกันของสิ่งต่างๆ
3) การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวเข้าหากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนเด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ
4) การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
5) ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้ความสมดุล และมีการผสานกลมกลืนกัน เด็กควรมีความเข้้าใจธรรมชาติสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้
การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
1) ทักษะการสังเกต
2) ทักษะการจะแนกเปรียบเทียบ
3) ทักษะการรับฟัง
4) ทักษะความตั้งใจ
5) ทักษะการค้นพบ
6) ทักษะการสรุปข้อมูล
7) ทักษะการอธิบาย
8) ทักษะการปฏิบัติ
2) บทความ เรื่องสอนลูกเรื่องสัตว์ : เพิ่มเติม
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและการให้อาหาร ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์
การเรียนรู้หน่วยสัตว์มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง4ด้านไปพร้อมๆกัน
ด้านร่างกาย : การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง
ด้านอารมณ์ : ในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณธรรมจริยธรรม การมีดมตตากรุณาต่อสัตว์
ด้านสังคม : การเล่นและการทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ
ด้านสติปัญญา : กิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้ทักษะทางด้านคณิตศาศตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์
3) บทความเรื่อง ศิลปะกับวิทยาศาสตร์ : เพิ่มเติม
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (2552) ได้แนะนำทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
1 การสังเกต ตัวอย่างเช่น นำภาพรถยนต์ กับ รถบรรทุก มาวางด้วยกัน แล้วให้เด็กสังเกตดูว่ามีอะไรที่ต่างกัน และ เหมือนกัน เด็กๆอาจตอบคำถามได้หลากหลาย และบางคำตอบคุณก็อาจคิดไม่ถึงด้วยเหมือนกัน นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งตัวอย่าง คุณอาจจะลองใช้เทคนิคอื่นก็ได้
2 การฝึกประสาทสัมผัส นอกจากการสังเกตแล้ว เรายังมี การฟัง รับรู้รส สัมผัส ดมกลิ่น ซึ่งสามารถนำมาฝึกกับเด็กๆได้ เช่น ลองนำผลไม้มาหลากหลายชนิดมา แล้วให้เด็กๆปิดตา สัมผัส ดมกลิ่น แล้วก็ชิมดู หลังจากนั้น ก็ให้เด็กๆ ทายว่าเป็นผลไม้ชนิดไหน
3 การค้นพบ “สิ่งที่น่าสนใจ”ในธรรมชาติ สิ่งนี้อาจอยู่รอบๆตัวเราก็ได้ เช่น น้องครามนั่งจองดูมดแดงเดินขบวนหนีน้ำเป็นแถว แล้วก็ถามผู้ใหญ่ว่ามดมีกี่ขา แล้วมดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หลังจากผู้ปกครองให้คำตอบแล้ว อาจหาหนังสือเกี่ยวกับมดมาให้เด็กได้ศึกษาเพิ่มเติม
4 การเรียนรู้ด้านสุขอนามัยและการฝึกฝนเพื่อความปลอดภัย เช่น สอนการล้างมือก่อนกินอาหาร, หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ตกพื้น, การข้ามถนนบนทางม้าลาย
5 การคาดการณ์ที่ควรเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น สภาพอากาศ ถ้ามองท้องฟ้าแล้ว มีแดดจัดมากๆ เด็กๆจะออกไปข้างนอกควรจะนำหมวกหรือร่มไปด้วย
6 การฝึกสำดับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น การทำไข่เจียว อันดับแรกต้องตอกไข่ใส่ชาม หลังจากนั้นจึงตีไข่ให้ขึ้นฟู ถัดมาเตรียมตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงเทไข่ที่ตีไว้ใส่กระทะ รอให้ไข่สุก จึงตักขึ้นใส่ชาม
7 การฝึกการวัดและพัฒนาความสนใจทางคณิตศาสตร์ เช่นการวัดส่วนสูงของเด็กๆ กับ คุณพ่อ คุณแม่ ว่าใครสูงเท่ากี่ ซม. ใครสูงกว่าใคร หรือจะเป็นการชั่งน้ำหนัก การตวงสิ่งของ ในการทำกับข้าว
8 การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เช่นการนำกล่องนม หลอด หรือ ขวดพลาสติก มาสร้างเป็น หุ่นยนต์, ตุ๊กตา หรือ บ้าน
What will be further developed
การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เรื่อง ฝนตก โดยครูต้มน้ำให้เดือด ให้เด็กสังเกตลักษณะของน้ำที่ได้รับความร้อน ปริมาณของน้ำในภาชนะที่ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากได้รับความร้อนจนกลายเป็นไอน้ำ และระเหยไปในอากาศ เมื่อไอน้ำรวมตัวกันมากเข้าก็จะกลายเป็นก้อนเมฆ เมื่อมีน้ำหนักมากอากาศไม่สามารถพยุงไอน้ำเหล่านี้ได้ก็จะตกลงมาบนพื้น ผิวโลกที่เรียกว่าฝน การทดลองดังกล่าวนี้จะทำให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดฝนได้อย่างชัดเจน
Evaluation
Me
มาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและตอบคำถามจากอาจารย์อธิบาย มีอาการง่วงเล็กน้อย พยายามจดเนื้อหาสำคัญจากเพื่อนออกมานำเสนอและจากอาจารย์อธิบาย และมีการยกตัวอย่าง
Friends
เพื่อนส่วนมากตั้งใจเรียนและตอบคำถามจากที่อาจารย์ถาม แต่เนื่องจากอาจารย์ใจดีทำให้มีเพื่อนส่วนหนึ่งไม่ค่อยตั้งใจเรียน บางคนหลับ บางคนเล่นโทรสัพท์ และบางคนก็คุยกันเสียงดัง ทำให้รบกวนสมาธิเพื่อนคนอื่นๆ
Teachers
ชอบเทคนิคเวลาอาจารย์สอนทำให้เข้าใจ ชอบที่่สุดคือการใช้เสียงของอาจารย์ พอหนูง่วงจะหลับก็ตกใจเสียงอาจารย์ทำให้ตื่น อาจารย์มีการยกตัวอย่างการทดลองต่างๆทำให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น อยากให้อาจารย์ดุมากกว่านี้ บางคนรู้ว่าอาจารย์ใจดีเลยไม่ตั้งใจเรียน นั่งเล่นโทรสัพท์ นั่งโม้คนรบกวนสมาธิเพื่อนข้างๆค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น